เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมคอนเวนชั่น โรงแรมราชศุภมิตร อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พลเอกสุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี

          เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมคอนเวนชั่น โรงแรมราชศุภมิตร อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พลเอกสุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรม       การศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี โดยมี นายสมเจตน์ จงศุภวิศาลกิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวรายงานข้อมูลของจังหวัดกาญจนบุรี และนายวิทยาเกียรติ เงินดี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 กล่าวรายงานการขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่ พร้อมด้วย นายอนันต์  กัลปะ ศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี หัวหน้าส่วนราชการ คณะครู       เครือข่ายภาคประชาชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมฯ

          กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี      เป็นจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของภาคกลาง เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 เพื่อให้เกิด   รูปแบบการบริหารจัดการการศึกษารูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นการทดลองกระจายอำนาจการบริหารจัดการจากส่วนกลางไปยังจังหวัด โดยมีระบบและกลไกการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้สถานศึกษามีอิสระในด้านวิชาการ การบริหารบุคลากร และการบริหารทั่วไป ด้วยความ        รับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษา นำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน บริบทพื้นที่ และความต้องการของประเทศ นั้น

          สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ดำเนินการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี รับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ของผู้เกี่ยวข้องและบุคลากรในพื้นที่ สะท้อนผลการปฏิบัติจริงเติมเต็มแผนการดำเนินงาน      ปรับระบบกลไกการมีส่วนร่วมหรือการจัดการศึกษาร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นประเด็นสำคัญ ได้แก่

     1. สภาพปัจจุบัน จุดเด่น จุดด้อย ปัญหา และแนวทางพัฒนาที่ตอบโจทย์ผู้เรียนและพื้นที่

     2. ระบบและกลไกการมีส่วนร่วมหรือจัดการศึกษาร่วมกันของภาคส่วนต่างๆในพื้นที่

     3. แผนการดำเนินงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ และปฏิทินการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรม        การศึกษา ซึ่งได้ความคิดเห็นจากที่ประชุมมาจัดทำแผนยุทธศาสตร์พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องในทุกกลุ่มเป้าหมาย    โดยกำหนดแผนงานเป็นระยะตามช่วงเวลาที่เหมาะสม มีความยืดหยุ่น พร้อมทั้งให้มีการทบทวน    ปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สำหรับการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 450 คน ซึ่งประกอบด้วยภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคราชการ และภาคีเครือข่ายประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน      ตลอดจนเสนอแนะให้ข้อแนะนำ ในการนำไปปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของแต่ละพื้นที่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้ามไปยังทูลบาร์